ผักสดๆ กับเรื่องควรระวัง

veg.jpg
คนรักสุขภาพอย่างเราๆ ถ้าเลือกได้คงเลือกที่จะทานผัก ผลไม้ มากกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง หรืออาหารมันๆ กันเป็นแน่ ก็ผักใบเขียวทั้งหลาย นอกจากจะมีไฟเบอร์สูง ไม่ทำให้อ้วนแล้ว ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินอีกมากมายเลย วันนี้ เราจึงมีเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับผักสดมาฝากกันค่ะ
จริงอยู่ ที่ผักสดๆ ย่อมคงคุณค่าทางอาหารไว้ได้ครบถ้วน ให้ประโยชน์มากกว่าผักที่ผ่านการะบวนการปรุงด้วยความร้อนสูง ทำให้เรามักจะเลือกทานผักสดๆ กันเมื่อมีโอกาส แต่ทราบกันหรือไม่คะ ว่าการทานผักบางชนิด โดยไม่ผ่านการปรุงด้วยความร้อน และทานในปริมาณมากๆ กลับจะส่งผลเสียให้กับร่างกายเราได้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

ถั่วงอก แม้ว่าถั่วงอกจะมีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งมีโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และ เลซิธิน แต่การทานถั่วงอกดิบก็ควรจะทานในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น เพราะในถั่วงอกดิบมีสารไฟเตต ที่จะส่งผลในการขัดขวางการดูดซึมสารบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย
ไฟเตต มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ซึ่งจะไปจับ หรือดูดซับธาตุแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และฟอสฟอรัส เมื่อรับประทานเข้าไปมาก ๆ ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ได้ค่ะ สารไฟเตตนี้ นอกจากจะพบในถั่วงอกแล้ว ยังพบได้ในผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ขี้เหล็ก ผักโขม ซึ่งกลิ่นเหม็นเขียวที่เราพบในผักนั่นแหละค่ะ คือ กลิ่นของไฟเตต โดยวิธีทานผักเหล่านี้ให้ประโยชน์เต็มที่ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรุงให้สุกค่ะ เพราะเมื่อโดนความร้อน สารไฟเตตก็จะสลายไป ไม่ต้องกังวลว่าร่างกายจะไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้เต็มที่อีก

ถั่วฝักยาว แม้ว่าในถั่วฝักยาวจะมีไฟเบอร์สูง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี โปรตีน และมีธาตุเหล็ก แต่การทานถั่วฝักยาวดิบมากจนเกินไป ก็อาจทำให้ท้องอืดได้ เพราะในถั่วฝักยาวดิบจะมีก๊าซสูง โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งอาการท้องอืดดังกล่าว เกิดจากกระบวนการย่อยเมล็ดและเปลือกของถั่วฝักยาวโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ค่ะ

ผักตระกูลกะหล่ำ และตระกูลหอม ซึ่งรวมถึง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อกโคลี คะน้า หัวหอม กระเทียม ผักในกลุ่มนี้จะมีสารกอยโตรเจน (goitrogen) เป็นสารมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ หากรับประทานผักผลไม้ที่มีสารชนิดนี้มากเกินไปอาจจะทำให้มีอาการท้องอืด และทำให้ร่างกายได้ขาดสารไอโอดีนจนทำให้เป็นโรคคอพอกได้ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม สารกอยโตรเจนนี้ จะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อน การทานผักในกลุ่มนี้ จึงควรปรุงให้สุกก่อนค่ะ

หน่อไม้-มันสำปะหลัง จะมีสารไซยาไนด์ ในรูปของ ไกลโคไซด์ ซึ่งจะมีผลต่อระบบประสาท ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย มึนงง หมดสติ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจหยุดทำงานได้เลยทีเดียว การทาหน่อไม้ หรือมันสำปะหลัง ควรจะนำไปปรุงสุก หรือนำไปต้มน้ำทิ้งก่อนนำมาปรุงอาหารต่อไป

ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ได้หมายความว่าผักเหล่านี้ไม่ควรทานนะคะ เพียงแต่ว่า การทานในปริมาณมากๆ อาจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ แต่วิธีแก้ไขก็ทำได้ไม่ยากเลย เพียงนำไปปรุงให้สุกก่อน เพียงเท่านี้ เราก็ยังจะได้รับทั้งไฟเบอร์ สารอาหาร และวิตามินที่มีอยู่โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องสารหลายๆ ชนิดที่มีในผักสดกันแล้วค่ะ
เอาล่ะค่ะ ใกล้ถึงเวลาอาหารกันแล้ว เลือกผักอร่อยๆ สำหรับเมนูมื้อต่อไปกันหรือยังคะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s